ระเด่นลันได icon

ระเด่นลันได

★★★★★
★★★★★
(4.73/5)

1.0Free8 years ago

Download ระเด่นลันได APK latest version Free for Android

Version 1.0
Update
Size 10.43 MB (10,939,201 bytes)
Developer Thanakorn Papan
Category Apps, Books & Reference
Package Name com.radenrundai.magazine.AOUABFBLCSCGDWUJ
OS 2.1 and up

ระเด่นลันได APPLICATION description

อธิบายบทละคอน เรื่อง ระเด่นลันได

บทละคอนเรื่องระเด่นลันได ถ้าอ่านโดยไม่ทราบเค้ามูล ก็คงจะเข้าใจว่าเป็นบทแต่งสำหรับเล่นละคอนตลก แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น หนังสือเรื่องระเด่นลันไดนี้ที่แท้เป็นจดหมายเหตุ หากผู้แต่งประสงค์จะจดให้ขบขันสมกับเรื่องที่จริง จึงแกล้งแต่งเป็นละคอนสำหรับอ่านกันเล่น หาได้ตั้งใจจะให้ใช้เป็นบทเล่นละคอนไม่

เรื่องระเด่นลันได เป็นหนังสือแต่งในรัชกาลที่ ๓ เล่ากันมาว่า ครั้งนั้น มีแขกคนหนึ่งชื่อ ลันได ทำนองจะเป็นพวกฮินดู ชาวอินเดีย ซัดเซพเนจรเข้ามาอาศัยอยู่ที่ใกล้โบสถ์พราหมณ์ในกรุงเทพฯ เที่ยวสีซอขอทานเขาเลี้ยงชีพเป็นนิจ พูดภาษาไทยก็มิใคร่ได้ หัดร้องเพลงขอทานได้เพียงว่า "สุวรรณหงษ์ถูกหอกอย่าบอกใคร บอกใครก็บอกใคร" ร้องทวนอยู่แต่เท่านี้ แขกลันไดเที่ยวขอทาน จนคนรู้จักกันโดยมากในครั้งนั้น มีแขกอีกคน ๑ เรียกกันว่า แขกประดู่ ทำนองก็จะเป็นชาวอินเดียเหมือนกัน ตั้งคอกเลี้ยงวัวนมอยู่ที่หัวป้อม (อยู่ราวที่สนามหน้าศาลสถิตยุติธรรมทุกวันนี้) มีภรรยาเป็นหญิงแขกมลายูซื่อประแดะ อยู่มาแขกลันไดกับแขกประดู่เกิดวิวาทกันด้วยเรื่องแย่งหญิงมลายูนั้น โดยทำนองที่กล่าวในเรื่องละคอน คนทั้งหลายเห็นเป็นเรื่องขบขันก็โจษกันแพร่หลาย พระมหามนตรี (ทรัพย์) ทราบเรื่อง จึงคิดแต่งเป็นบทละคอนขึ้น

พระมหามนตรี(ทรัพย์)นี้ เป็นกวีที่สามารถในกระบวนแต่งกลอนแปด จะหาตัวเปรียบได้โดยยาก แต่มามีชื่อโด่งดังในการแต่งกลอนต่อเมื่อถึงแก่กรรมแล้ว เพราะเมื่อมีชีวิตอยู่ ไม่ใคร่พอใจแต่งโดยเปิดเผย หนังสือซึ่งพระมหามนตรี(ทรัพย์) ได้ออกหน้าแต่งมีปรากฏแต่โคลงฤาษีดัดตนบท ๑ กับเพลงยาวกลบทชื่อ กบเต้นสามตอน (ซึ่งขึ้นต้นว่า "แจ็บคำจำคิดจิตขวย") บท ๑ เท่านั้น ที่พระมหามนตรี (ทรัพย์) มีชื่อเสียงสืบต่อมา จนรัชกาลหลัง ๆ เพราะแต่งหนังสืออีก ๒ เรื่อง คือ เพลงยาว แต่งว่า พระยามหาเทพ(ทองปาน) เมื่อยังเป็น จมื่นราชามาตย์เรื่อง ๑ กับบทละคอนเรื่อง ระเด่นลันไดนี้เรื่อง ๑

เพลงยาวว่าพระยามหาเทพ(ทองปาน) นั้น เล่ากันมาว่า เป็นแต่ลอบแต่ง แล้วเขียนมาปิดไว้ที่ ทิมดาบตำรวจ ในพระบรมมหาราชวัง ผู้อื่นเห็นก็รู้ว่า เป็นฝีปากพระมหามนตรี(ทรัพย์) แต่ไม่มีผู้ใดฟ้องร้องกล่าว มีแต่ผู้ลอกคัดเอาไป (แล้วเห็นจะเลยฉีกทั้งต้นหนังสือเสีย จึงไม่เกิดความฐานทอดบัตรสนเท่ห์) ด้วยครั้งนั้น มีคนชัง พระยามหาเทพ (ทองปาน) อยู่มากด้วยกัน เพลงยาวนั้น ก็เลยแพร่หลาย หอพระสมุดฯ ได้พิมพ์เพลงยาวนั้น ไว้ในหนังสือวชิรญาณวิเศษเล่ม ๓ ประจำปีกุน จุลศักราช ๑๒๔๙ (พ.ศ.๒๔๓๐)

ส่วนบทละคอนเรื่องละเด่นลันได เหตุที่แต่งเป็นดังอธิบายมาข้างต้น ถ้าผู้อ่านสังเกตจะเห็นได้ว่า ทางสำนวน แต่งดีทั้งกระบวนบทสุภาพ และวิธีที่เอาถ้อยคำขบขันเข้าสอดแซม บางแห่งกล้าใช้สำนวนต่ำช้าลงไปให้สมกับตัวบท แต่อ่านก็ไม่มีที่จะเขินเคอะในแห่งใด เพราะฉะนั้น จึงเป็นหนังสือซึ่งชอบอ่านกันแพร่หลายตั้งแต่แรกแต่งตลอดมาจนในรัชกาลหลัง ๆ นับถือกันว่าเป็นหนังสือกลอนชั้นเอกเรื่อง ๑

บทละคอนเรื่องระเด่นลันไดนี้ มีผู้ใดเคยพิมพ์มาแล้ว แต่ฉบับที่พิมพ์มาแต่ก่อนวิปลาสคลาดเคลื่อน แลมีผู้อื่นแต่งแทรกแซมเพิ่มเติมอีกเป็นอันมาก จนวิปริตผิดรูปฉบับเดิม กรรมการหอพระสมุดฯ เห็นว่าบทละคอนเรื่องละเด่นลันไดนับว่าเป็นเรื่องสำคัญในหนังสือกลอนไทยเรื่อง ๑ ซึ่งสมควรจะรักษาไว้ให้บริสุทธิ์ จึงได้พยายามหาฉบับมาแต่ที่ต่าง ๆ สำหรับชำระแล้วพิมพ์ไว้ในสมุดเล่มนี้

แต่เสียดายอยู่ที่บทตอนท้ายในเล่มนี้ยังขาดฉบับเดิมอยู่สักสามฤาสี่หน้ากระดาษ เนื้อเรื่องที่ขาดเพียงใดจะอธิบายไว้ท้ายเล่มสมุด เผื่อท่านผู้ใดมีฉบับบริบูรณ์ ถ้ามีแก่ใจคัดส่งมายังหอพระสมุดฯ ฤาให้ยืมต้นฉบับมาให้หอพระสมุดฯ ดัดได้ จะขอบพระคุณเป็นอันมาก

ดำรงราชานุภาพ

สภานายก

หอพระสมุดวชิรญาณ

วันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๔๖๓

↓ Read more
ระเด่นลันได screen 1 ระเด่นลันได screen 2